ข้อควรรู้ก่อนเลือกใช้พลาสติก และคุณสมบัติการติด-ลามไฟ มาตรฐานความปลอดภัย ที่ต้องรู้ก่อนใช้งาน

ข้อควรรู้ก่อนเลือกใช้พลาสติก และคุณสมบัติการติด-ลามไฟ มาตรฐานความปลอดภัย ที่ต้องรู้ก่อนใช้งาน

หากลองสังเกตสิ่งของรอบตัวที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เชื่อได้เลยว่าพลาสติกจะต้องเป็นสิ่งที่ผ่านตาทุกคนอย่างแน่นอน เพื่อที่จะได้เลือกใช้งานพลาสติกได้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เรามาดูข้อควรรู้ก่อนเลือกใช้พลาสติกพร้อมเรียนรู้มาตรฐานความปลอดภัยก่อนใช้งานกันเลย

รู้จักพลาสติกแต่ละประเภท

พลาสติกเป็นวัสดุอย่างหนึ่งที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมา โดยสามารถนำมาหลอมเพื่อขึ้นเป็นรูปทรงอื่นๆ ได้ตามจุดประสงค์ในการใช้งาน หากสังเกตบนสิ่งของต่างๆ ที่มีพลาสติกเป็นส่วนประกอบ คุณจะพบกับสัญลักษณ์หมายเลขของพลาสติกที่ระบุไว้เพื่อช่วยให้คุณสามารถจัดการกับพลาสติกชิ้นนั้นๆ หลังใช้งานแล้วได้อย่างถูกวิธียิ่งขึ้น ซึ่งสัญลักษณ์หมายเลขของพลาสติกจะถูกแบ่งออกเป็น 7 ประเภทด้วยกันดังนี้

  1. สัญลักษณ์หมายเลข 1 – PETE
    พลาสติก PETE หรือพลาสติก PET (Polyethylene Terephthalate) เป็นพลาสติกเนื้อใสที่มีความแข็งและทนทาน เหมาะสำหรับการใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เนื่องจากถ้าหากโดนความร้อนมากๆ อาจจะละลายกลายเป็นสิ่งปนเปื้อนเมื่อสัมผัสอาหารได้ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ชนิดต่างๆ เช่น ขวดพลาสติก, แก้วพลาสติก, กล่องใส่อาหาร เป็นต้น
  2. สัญลักษณ์หมายเลข 2 – HDPE
    พลาสติก HDPE (High Density Polyethylene) มีลักษณะเฉพาะคือความขุ่นทึบของพลาสติกและความเหนียว ทำให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อีกทั้งยังทนต่อสารทำละลายอีกด้วย ดังนั้นจึงนิยมนำมาทำเป็นบรรจุภัณฑ์อย่าง ถุงพลาสติก ขวดพลาสติกสำหรับแชมพูหรือน้ำยาล้างจาน 
  3. สัญลักษณ์หมายเลข 3 – V
    พลาสติก V (Polyvinyl Chloride) หรือที่เรียกกันว่า PVC โดดเด่นเรื่องความแข็งแรงและทนทาน ในวงการอุตสาหกรรมนิยมนำใช้ผลิตท่อชนิดต่างๆ สำหรับด้านบรรจุภัณฑ์นิยมนำมาทำเป็นถุงพลาสติกหูหิ้วและฟิล์มใสถนอมอาหาร อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงการใช้งานร่วมกับสิ่งของที่มีความร้อน
  4. สัญลักษณ์หมายเลข 4 – LDPE
    พลาสติก LDPE (Low Density Polyethylene) คือพลาสติกอีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมในการนำมาผลิตเป็นถุงพลาสติก มีความใส นิ่ม เหนียวและทนต่อความร้อน/เย็นได้สูง นอกจากนี้ยังนิยมใช้ผลิตเป็นหลอดหรือฟิล์มห่ออาหารอีกด้วย
  5. สัญลักษณ์หมายเลข 5 – PP
    พลาสติก PP (Polypropylene) เป็นพลาสติกที่ทนความร้อนได้สูง มีความแข็งแรงแต่น้ำหนักเบา ทนทาน สามารถนำพลาสติกชนิดนี้เข้าไมโครเวฟได้ มักนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เช่น ฝาขวดน้ำ ถ้วยโยเกิร์ต กล่องอาหาร เป็นต้น
  6. สัญลักษณ์หมายเลข 6 – PS
    พลาสติก PS (Polystyrene) เป็นพลาสติกที่ขึ้นรูปได้ง่าย มีความใสสูง แต่แตกง่าย รวมถึงรีไซเคิลได้ยาก อย่างไรก็ตามนิยมนำมาผลิตเป็นบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง รวมถึงใช้ผลิตเป็นโฟมหรือฉนวนความร้อนด้วย
  7. สัญลักษณ์หมายเลข 7 – OTHER
    สำหรับสัญลักษณ์นี้จะหมายถึงพลาสติกชนิดอื่นๆ นอกเหนือจาก 6 ชนิดข้างบน ส่วนใหญ่พลาสติกที่มีสัญลักษณ์นี้จะใช้ผลิตสิ่งของที่ไม่สัมผัสอาหาร

มาตรฐานความปลอดภัย UL94

มาตรฐานความปลอดภัย UL94 เป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวกับคุณสมบัติการติด – ลามไฟ กำหนดโดยหน่วยงานของประเทศสหรัฐอเมริกา มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะช่วยทำให้คุณทราบว่าสิ่งของชิ้นนั้นๆ มีความปลอดภัยต่อการลุกลามของไฟมากน้อยแค่ไหน เบื้องต้นมีรายละเอียดการแบ่งประเภทดังนี้

  • • UL94 V-2 : ทดสอบการเผาไหม้ในแนวตั้ง ; การเผาไหม้หยุดลงภายใน 60 วินาที อนุญาตให้หยดไฟได้   (เคเบิ้ลไทร์ส่วนใหญ่จะต้องผ่านมาตรฐานนี้)
  • • UL94 V-1 : ทดสอบการเผาไหม้ในแนวตั้ง ; การเผาไหม้หยุดลงภายใน 60 วินาที ไม่อนุญาตให้มีหยดไฟ
  • • UL94 V-0 : ทดสอบการเผาไหม้ในแนวตั้ง ; การเผาไหม้หยุดลงภายใน 10 วินาที ไม่อนุญาตให้มีหยดไฟ
  • • UL94 5VB : ทดสอบการเผาไหม้ที่ชิ้นผิวงาน ; การเผาไหม้หยุดลงภายใน 60 วินาที ไม่อนุญาตให้มีหยดไฟ แต่อาจมีรูหรือรอยไหม้เกิดขึ้นได้
  • • UL94 5VA : ทดสอบการเผาไหม้ที่ชิ้นผิวงาน ; การเผาไหม้หยุดลงภายใน 60 วินาที ไม่อนุญาตให้มีหยดไฟ ไม่มีรอยไหม้ ไม่มีรูทะลุ (มาตรฐานสูงสุด)
  • • UL94 HB : ทดสอบการเผาไหม้ในแนวนอน ; ชิ้นทดสอบน้อยกว่า 3 มม. ต้องมีอัตราเผาไหม้น้อยกว่า 75 มม./นาที (มาตรฐานต่ำสุด)

เรียบร้อยแล้วกับข้อควรรู้ก่อนการใช้งานพลาสติก จะเห็นได้ว่าพลาสติกแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป เพื่อความปลอดภัยและการใช้งานพลาสติกให้เกิดประโยชน์สูงสุด การทำความเข้าใจข้อมูลเหล่านี้จึงสำคัญไม่แพ้สิ่งอื่นใด

Facebook
Twitter
Email
รับรองสมาชิกสภาอุตสาหกรรมไทย​
สภาอุตสาหกรรม
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
สสว. รับรองภาครัฐ
สมาชิกหอการค้าไทย
หอการค้าไทย
เอกสารจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า YORU
เครื่องหมายการค้า
อยากใช้ไปนานๆ ต้องทำอย่างไร อะไรทำให้เคเบิ้ลไทร์แตกหัก? มีข้อควรระวังใดบ้างในการใช้งาน? เคเบิ้ลไทร์สายรัดจัดเก็บสิ่งต่างๆ ที่มีอายุการใช้งานหลายปี แต่หลายครั้งก็พบว่าเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งเคเบิ้ลไทร์นั้นกลับแตกหัก
อ่าน: 75 ครั้ง
เวลาเลือกซื้อเคเบิ้ลไทร์เพื่อมาใช้งาน นอกจากมีหลายประเภท หลายขนาดแล้ว ยังมีสีให้เลือกใช้งานอย่างหลากหลาย ซึ่งสีสันที่แตกต่างกันไม่ได้ทำเพื่อความสวยงามอย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ แต่เป็นการแบ่งสีตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน
อ่าน: 78 ครั้ง
สายเคเบิ้ลไทร์ หรือไทร์แรพท์ หรือซิปไทร์ หรือสายรัดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ของแบรนด์ YORU เรามั่นใจว่าการใช้สายรัดเคเบิ้ลไทร์รัดกระสอบ เป็นวิธีง่ายและมีประสืทธิภาพที่สุด ในการขนส่งสินค้า
อ่าน: 164 ครั้ง
เคเบิ้ลไทร์ Stainless 304 แบบพ่นดำ สีดำ ความกว้าง 4.6 มิลลิเมตร ป้องกันสนิม ทนทานการกัดกร่อน ทนความร้อนได้สูง สำหรับใช้รัดแบบถาวร ในระยะเวลาใช้งานยาวนาน ป้องกันการ Oxidation ของน้ำและอากาศได้
ราคาส่ง: 100 เส้น/ชุด

BLACK SPRAYED STAINLESS CABLE TIES

  • พ่นสีดำ ผิวบาง สม่ำเสมอ ทำให้น้ำหนักเบา
  • ทนทานต่อการกัดกร่อนของสภาพอากาศได้ดี
  • ทำจากสแตนเลส 304 กว้างมาตรฐาน 4.6 มิล
  • หัวล็อคแบบ Ball Type ล็อคแน่น ไม่เลื่อนกลับ
  • สำหรับใช้มัด สิ่งของน้ำหนักมาก ระยะยาว
เคเบิ้ลไทร์ YORU สีขาว (Natural/White) เคเบิลไทร์มาตรฐาน (ชุด 50-1000 เส้น) ขนาดความยาว ตั้งแต่ 4 นิ้ว 6 นิ้ว 8 นิ้ว 10 นิ้ว 12 นิ้ว 14 นิ้ว 16 นิ้ว ราคาส่ง สายเคเบิ้ลไทร์ ความกว้าง 2.5, 3.6, 4.8, 7.2 และ 8.8 มิลลิเมตร
ราคาส่ง: 50-1,000 เส้น/ชุด

NYLON CABLE TIES

  • เคเบิ้ลไทร์ YORU สีขาว มีทุกขนาดความหนา
  • สีขาว/ธรรมชาติของไนลอน จะปนเหลืองนิดๆ
  • ผลิตบนมาตรฐานสากล UL CE SGS และ ROHS
  • สีขาวเหมาะสำหรับใช้งานในร่ม และงานรัดท่อต่างๆ
  • เหนียว ทนทาน โค้งงอได้ดี ง่ายต่อการ รัดสายไฟ
YORU LINE QR Code
(มี @ นำหน้าด้วยนะคะ)
YORU เคเบิ้ลไทร์คุณภาพ มาตรฐานส่งออก