สแตนเลส หรือ Stainless Steel เป็นโลหะที่ผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน มีความทนทานต่อการกัดกร่อนจึงได้มีอีกชื่อหนึ่งว่าเหล็กกล้าไร้สนิม และยังมีส่วนผสมอื่น ๆ ในสแตนเลส ได้แก่ โครเมียม นิกเกิล โมลิบดินัมคาร์บอน ซึ่งส่วนผสมเหล่านี้จะทำให้สแตนเลสแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งสแตนเลสที่เราใช้อยู่นั้นไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด สแตนเลสที่อยู่รอบตัวเรามีหลายประเภท และมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน สแตนเลสประเภทต่าง ๆ มีดังนี้
ออสเตนิติก (Austenitic)
ออสเตนิติก เป็นสแตนเลสที่มีส่วนประกอบเป็นคาร์บอนอย่างน้อย 0.15% โครเมียมอย่างน้อย 16 % และนิกเกิล (บางเกรดอาจมีผสมแมงกานีส) มีความสามารถในด้านความทนทานต่อการกัดกร่อน ทนความร้อนได้เป็นอย่างดี สแตนเลสชนิดนี้สามารถนำมาใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
เฟอร์ริติก (Ferritic)
เฟอร์ริติก เป็นสแตนเลสที่มีคุณสมบัติพิเศษในการดึงดูดแม่เหล็ก มีโครเมียมเป็นธาตุผสมหลักระหว่าง 10.5-27% (บางเกรดผสมนิกเกิล / ผสมโมลิบดินัม / อะลูมิเนียม / ไทเทเนียม เล็กน้อย) สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลายไม่แพ้สแตนเลสออสเตนิติก
มาร์เทนซิติก (Martensitic)
มาร์เทนซิติก เป็นสแตนเลสที่มีคุณสมบัติพิเศษในการดึงดูดแม่เหล็ก มีส่วนผสมของโรเมียม 12 -14% โมลิบดินัม 0.2-1% นิกเกิล 0-2% และคาร์บอน 0.1-1% สแตนเลสกลุ่มมาร์เทนซิติกจะทนทานต่อการกัดกร่อนได้น้อยกว่าออสเตนิติกและเฟอร์ริติก แต่กลับทนทานและแข็งแรงกว่า 2 กลุ่มข้างต้น นิยมนำมาใช้ในงานที่ต้องการความทนทาน ได้แก่ นำมาทำใบมีด เครื่องมือผ่าตัด หัวฉีด เพลา เป็นต้น
ดูเพล็กซ์ (Duplex)
ดูเพล็กซ์ เป็นสแตนเลสที่มีส่วนผสมของโครเมียมอยู่ที่ 19-28% โมลิบดินัมมากกว่า 5% และยังมีส่วนผสมของนิกเกิลน้อยกว่าสแตนเลสกลุ่มออสเตนิติก นิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมน้ำมันและแก๊ส ใช้เป็นอุปกรณ์กลั่นน้ำสำหรับชลประทาน เป็นต้น
กลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกผลึก
เป็นสแตนเลสกลุ่มที่มีความทนทานใกล้เคียงกับกลุ่มออสเตนิติก มีส่วนผสมของโครเมียม 17% และนิกเกิล 4% อาจมีส่วนผสมของทองแดงและไนโอเบียม นิยมนำมาทำหัววาล์ว
เกรดของสแตนเลสที่นิยมใช้ในประเทศไทย
สแตนเลส คือวัสดุที่อยู่รอบ ๆ ตัวเรา แต่เรารู้จักกับสแตนเลสดีแค่ไหนกัน? สแตนเลส (Stainless) หรืออีกชื่อหนึ่งคือเหล็กกล้าไร้สนิม เป็นโลหะที่มีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ทนทานต่อการเป็นสนิม โดยมีส่วนผสมหลักจากเหล็กและคาร์บอน สแตนเลสบางชนิดแม่เหล็กสามารถดูดติดได้ ขณะเดียวกันบางชนิดแม่เหล็กไม่สามารถดูดติดได้ โดยสแตนเลสที่เราเห็นอยู่นั้นจะมีเกรดที่ไม่เหมือนกัน แต่ละเกรดก็จะเหมาะกับการนำมาใช้ผลิตสิ่งของที่แตกต่างกันออกไป โดยประเภทของสแตนเลสที่นิยมใช้งานกันในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 เกรด ดังนี้
สแตนเลสเกรด 304 (SUS 304)
มีส่วนประกอบเป็นโครเมียมร้อยละ 18 และนิกเกิลร้อยละ 8 เป็นสแตนเลสชนิดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด ไม่สามารถชุบให้แข็งได้ด้วยความร้อน สามารถนำมาใช้งานได้หลากหลาย ง่ายต่อการขึ้นรูป คงรูปทรงในแนวตั้งได้ดี และทนต่อการกัดกร่อนได้อย่างดี
คุณสมบัติเด่นของสแตนเลสเกรด 304 คือ สามารถปั๊มขึ้นรูป และยังคงรูปได้ดี จึงนิยมนำมาใช้ทำอุปกรณ์ความปลอดภัย บานพับ ลูกบิดประตู เคเบิ้ลไทร์สแตนเลส เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นเกรดสแตนเลสที่นิยมใช้งานมากที่สุด
นิยมนำมาใช้ทำ : บานพับ ลูกบิดประตู อุปกรณ์เสริมความปลอดภัย
สแตนเลสเกรด 316 (SUS 316)
มีส่วนประกอบคล้ายกับสแตนเลสเกรด 304 แต่จะเพิ่มส่วนประกอบสารโมลิดินัมเข้ามา ทำให้สแตนเลสเกรด 316 มีความทนทานต่อการกัดกร่อนสูงขึ้น โดยเฉพาะทนต่อสารชนิดคลอรีน และยังนิยมมาใช้ในงานเชื่อมหากเป็นสแตนเลสเกรด 316L เนื่องจากมีส่วนประกอบของคาร์บอนน้อยกว่า 316 รอยเชื่อมของ 316 L จะมีความทนทานกว่า
คุณสมบัติเด่นของสแตนเลสเกรด 316 คือ ทนทานต่อการกัดกร่อนสูง ทนทานต่อการเกิดสนิม จึงนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างเรือและเครื่องมือทางการแพทย์ และยังได้รับความนิยมรองลงมาจากสแตนเลสเกรด 304
นิยมนำมาใช้ทำ : งานที่ต้องการความทนทานด้านการกัดกร่อน อย่างนำมาทำเป็นวัสดุในการต่อเรือ ทำเป็นเครื่องมือการแพทย์ อุปกรณ์ในห้องแล็บ
สแตนเลสเกรด 430 (SUS 430)
มีส่วนประกอบเป็นโครเมียมร้อยละ 18 มีความพิเศษตรงที่เป็นเกรดที่แม่เหล็กสามารถดูดติดได้ สแตนเลสเกรด 430 มีพื้นผิวที่ทนทาน มีความแข็งแรงและคงทนกว่าสแตนเลสเกรด 304 แต่ไม่เหนียวเท่าสแตนเลสเกรด 304 เหมาะสำหรับงานที่ใช้รับแรงกระแทก
คุณสมบัติเด่นของสแตนเลสเกรด 430 คือ มีความแข็งแรงทนทาน แต่ความเหนียวจะลดลง จึงนิยมนำมาทำเป็นมีดหรือแท่นวางเตาแก๊ส
นิยมนำมาใช้ทำ : มีด ที่วางเตาแก๊ส ฯลฯ เนื่องจากเป็นสิ่งของที่ต้องการความแข็งแรง และทนต่อแรงกระแทกได้
สแตนเลสเกรด 202 (SUS 202)
มีส่วนประกอบที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นโครเมียม นิกเกิลและแมงกานีส เป็นสแตนเลสชนิดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด มีความคงทนน้อยที่สุด และมีโอกาสเกิดสนิมได้ จึงไม่นิยมนำมาผลิตเป็นอุปกรณ์ในการประกอบอาหาร อีกทั้งยังมีความทนทานต่อการกัดกร่อนน้อยลงอีกด้วย แต่ข้อดีของวัสดุสแตนเลสเกรด 202 คือมีราคาไม่สูง
เป็นสแตนเลสเกรดที่แม่เหล็กดูดไม่ติด ข้อดีคือ มีราคาไม่แรง นิยมนำมาใช้ผลิตสินค้าฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ บานพับ หรือพวกกร่อนประตูที่เกรดไม่สูงมากนัก
นิยมนำมาใช้ทำ : สินค้าที่มีเกรดไม่สูงนัก เช่น บานพับ กลอนประตู (เกรดที่ไม่สูง)
ถึงแม้ว่าจะเป็นสแตนเลสเหมือนกัน แต่ก็มีคุณสมบัติเด่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งสแตนเลสแต่ละชนิด แต่ละเกรดก็เหมาะกับการนำมาใช้งานที่แตกต่างกัน โดยส่วนมากสแตนเลสที่เรามักจะเห็นเป็นประจำจะเป็นสแตนเลสเกรด 304 ในกลุ่มออสเตนิติกนั่นเอง ซึ่งสามารถพบได้ตามอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน รวมไปถึงสายรัดเคเบิ้ลไทร์ที่เน้นการใช้งานระยะยาวต่างๆ
การรู้เรื่องเกรดของวัสดุจะช่วยให้เรารู้ถึงคุณภาพของสิ่งของที่เราสนใจ ว่ามีการเลือกประเภทของวัสดุได้เหมาะสมหรือไม่ หากอยากได้สินค้าที่คงทน อันดับแรกเราสามารถตรวจสอบได้จากวัสดุที่เลือกใช้ อย่างวัสดุที่ทำจากสแตนเลสที่เราได้แนะนำไปในข้างต้น สแตนเลสแต่ละเกรดก็จะเหมาะกับการผลิตสินค้า และเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป หากเรารู้ว่าเกรดไหนเหมาะกับการนำมาผลิตเป็นสินค้าแบบใด ในขั้นตอนการซื้อก็จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ไม่ผิดพลาด และยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในอนาคตได้